Callcenter: 088-004-0005

Line ID: @starclinic

Open Daily 11:00 - 21:00

เว็บไซต์นี้สำหรับสมาชิกสตาร์คลินิกเท่านั้น

ภาวะนิ้วล็อคภาวะนิ้วล็อค

  • เป็นโรคทางมือที่เกิดจากการกํามือแน่น งอนิ้วมือนานหรือซ้ำๆ ทําให้เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ฝ่ามือ

     

    มีแรงกระทําต่อกันมากจนเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น มักพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้มือทําา

     

    กิจกรรมหยิบจับสิ่งของอยู่ตลอดเวลา เช่น หิ้วของหนัก บิดผ้าด้วยมือเปล่าจํานวนมากๆ หรือผู้สูงอายุที่

     

    เป็นโรคเบาหวาน โรคในกลุ่มรูมาตอยด์ เป็นต้น แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ ถ้าดูแล

     

    ตนเองอย่างถูกวิธี

     

     

     

    ลักษณะอาการ

     

                    เป็นภาวะที่นิ้วมือล็อคติดอยู่ในท่างอ เวลาเหยียดนิ้วจะติดขัดและสะดุด อาการนี้สามารถเกิดขึ้น

     

    ได้กับทุกนิ้ว และเกิดพร้อมกันได้หลายนิ้ว ส่วนใหญ่พบในนิ้วหัวแม่มือมากที่สุด รองลงมาคือ นิ้วนาง นิ้ว

     

    กลาง นิ้วก้อย และนิ้วชี้ ตามลําดับ และผู้ป่วยมักมีอาการนิ้วล็อคมากขึ้นในช่วงหลังตื่นนอน โดยเฉพาะ

     

    ตอนที่เริ่มขยับนิ้วงอเหยียด จะมีอาการปวดจากการสะดุดล็อคของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็น แต่พองอ

     

    เหยียดไปสักระยะหนึ่งอาการก็จะดีขึ้นลักษณะอาการ

     

     

     

     

    ปวดนิ้วล็อคของคุณอยู่ระดับไหน อาการของโรคนิ้วล็อคมีอยู่ 4 ระดับ ได้แก่

     

    ระดับที่ 1 ปวดและกดเจ็บที่ปลอกหุ้มเส้นเอ็นตําแหน่งฝ่ามือ เคยงอเหยียดนิ้วแล้วสะดุด แต่ตรวจร่างกาย

     

    อาจไม่พบว่าสะดุด

     

    ระดับที่ 2 ตรวจพบการสะดุดเวลางอเหยียดนิ้ว ยังสามารถเหยียดนิ้วเองได้สุด

     

    ระดับที่ 3 นิ้วติดล็อคต้องใช้มือช่วยเหยียด หรืองอจึงจะสุด        

     

    ระดับที่ 4  นิ้วติดล็อคไม่สามารถเหยียดนิ้วให้สุดได้

     

     

     

     

    ใครสามารถเป็นโรคนี้ได้บ้าง

     

    - คนที่ใช้งานมือซ้ำๆ หรือทํากิจกรรมที่ต้องกํามือแน่นและเกร็งข้อมือ เช่น การทําความสะอาดบ้าน (ซัก

     

    ผ้า, กวาดบ้าน เป็นต้น) ทําครัว ทําสวน การใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ตลอดวัน หิ้วของ

     

    หนักๆ การใช้กรรไกร

     

    - ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคไต โรคของต่อมไทรอยด์ และโรคในกลุ่มรูมาตอยด์ เป็นต้น

     

     

     

     

    ทําอย่างไรให้ห่างไกลโรคทางมือ

     

    1. หลีกเลี่ยงการทํางานโดยการงอข้อมือ กํามือ หรือเกร็งข้อมือติดต่อกันนานๆ โดยควรหยุดพักการใช้งาน

     

    มือทุก 15-25 นาทีใน 1 ชั่วโมง

     

    2.  ฝึกการใช้มือที่ถูกต้อง เช่น

     

    - การเขียนหนังสือ ควรใช้ปากกาด้ามใหญ่และหมึกไหลลื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วจับปากกาแรงและกด

     

    กระดาษแรง

    - การใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ ควรหาแผ่นรองเมาส์ ที่มีส่วนรองรับข้อมือ

     

    - การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ควรพยายามยกข้อมือให้อยู่ระดับข้อศอก หรือต่ำกว่าข้อศอกเล็กน้อย

     

    เป็นต้น

     

    3.  ควบคุมน้ำหนักตัวและโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่

     

     

    4.  ผ่อนคลายอิริยาบถด้วยการบริหารมือและข้อมือ

     

     

     

     

     

      เพิ่มเพื่อน

     

     

     

    ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณและ

     

     

     

    ศัลยกรรมความงาม มากกว่า 10 ปี

    เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 - 21.00น

    ปรึกษาสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005

     

     

     

     

     

    อ่าน 1318 ครั้ง

ข่าวสารและกิจกรรมสตาร์คลินิก (Star Clinic) | ข่าวสารและกิจกรรมอัพเดท