รับมือ 3 โรคแดด สำหรับคนทำงานกลางแจ้ง
ท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงเกือบ 40 องศา ในประเทศไทยนั้น มองออกไปนอกหน้าต่าง เราจะเห็นผู้คนเดิน
ขวักไขว่อยู่ริมถนน ในมือถือพัด บ้างก็เอาหนังสือพิมพ์ที่ได้รับแจกฟรีก่อนขึ้นรถเมล์เมื่อเช้ามากำบัง
แสงแดดที่แผดเผา หยดเหงื่อที่ผุดขึ้นมาบนใบหน้า เป็นสัญญาณว่า คุณกำลังเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัด
นั่นเอง
หากลองมองย้อนกลับไป หลายคนโชคดีที่ไม่ต้องออกแดดตลอดทั้งวัน สาวออฟฟิศได้นั่งทำงานในห้อง
แอร์ที่สามารถเนรมิตความเย็นเท่าไหร่ก็ได้ แต่คนอาชีพอื่น ๆ ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ต่อสู่กับแสงแดด
และหยาดเหงื่อที่โทรมกายทุกวัน อาทิ คนกวาดขยะ ผู้ใช้แรงงาน นอกจากความร้อนและความเหนื่อยที่
ต้องต่อสู้แล้ว พวกเขาอาจไม่รู้เลยว่า มีความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บที่กำลังคืบคลานมาเยือนตอนไหนก็ไม่
สามารถรู้ได้ รู้ตัวอีกที อาจลืมตาตื่นขึ้นมาท่ามกลางแสงไฟของห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลก็เป็นได้
และวันนี้เราจะพูดถึงโรคที่มาจากการอยู่กลางแดดนานๆหรือเป็นประจำทุกวันว่ามีอะไรบ้างไปกันเลยค่ะ
- ลมแดด หนึ่งในโรคช่วงหน้าร้อนที่คนทำงานกลางแจ้งมักจะพบเจอ ซึ่งเป็นโรคที่
ระดับอุณหภูมิสูงเกินกว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดน้ำมากเกินไป และทำให้เกิดอาการช็อกได้ ซึ่งต้องบอก
ว่าทุกคนทั่วไปที่อยู่ในอากาศร้อนๆ ก็สามารถเป็นได้ ไม่จำเป็นว่าต้องวัยทำงานอย่างเดียว
- โรคตะคริวแดด หากขาดน้ำ ก็เกิดปัญหาแน่นอน เพราะอากาศร้อนมาก ตะคริวก็เป็นส่วนหนึ่งที่เมื่อเรา
ขาดน้ำ จะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง มีการสูญเสียของระบบสารน้ำในร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการ
ดังกล่าวได้
โรคผดร้อน เป็นการอักเสบของท่อเหงื่อ ทำให้เกิดตุ่มแดงที่ผิวหนัง มักจะพบตามขาหนีบ รักแร้ ส่วนใหญ่
มักเกิดกับคนอ้วน เหงื่อจะออกเยอะ เช่น รักแร้เป็นร่องแดง เกิดการเสียดสี เป็นต้น
หากต้องทำงานออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรเตรียมตัวอย่างไร?
1. เตรียมร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที
2. ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด
3. หากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน หรือออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละประมาณ 1 ลิตร
คือประมาณ 4-6 แก้วต่อชั่วโมง แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม แต่ในภาวะปกติ คนเราต้องดื่มน้ำวันละ
ประมาณ 1.5-2 ลิตร
4. ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบาและสามารถระบายความร้อนได้ดี
5. ทาครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ (SPF) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และค่า PA +++
6. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น.
7. ควรหลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกายหรือต้องอยู่ท่ามกลาง
สภาพอากาศร้อนหรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานๆ และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาเสพ
ติดทุกชนิด
นอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งหนึ่งถึงแม้ไม่ใช่โรคแต่ก็ทำให้หมดความมั่นใจเอาได้ง่ายๆเช่นกันนั่นก็คือ ผิวไหม้คล้ำ
เสียจากแดด !!! แล้ววิธีแก้ล่ะ? ไม่ยากเลยค่ะ มาที่ Star Clinic ค่ะ ทางเรามีโปรแกรมดูแลผิวคล้ำเสียแบบ
นี้โดยตรง แก้ไขได้อย่างตรงจุด ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เข้ามาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนได้นะคะ
ยินดีมาที่ได้บริการและพร้อมเสมอที่ได้ดูแลค่ะ