โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตวัยทำงาน เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งโต๊ะทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง ไม่ได้ขยับลุกไปไหน บางคนต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เกือบตลอดเวลา ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายหลายระบบ เช่น มีปัญหาปวดกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานนาน อาการชาที่มือเนื่องจากการกดทับเส้นประสาทที่มือ ปวดเสียดท้องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา สมรรถภาพของร่างลดลงเนื่องจากไม่มีเวลาออกกำลังกาย
สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome
อาการปวดกล้ามเนื้อของคนที่ทำงานในออฟฟิศ หรืออาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เกิดจากการที่ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถต้องอยู่ในท่าเดิมเกือบตลอดเวลา หรือการนั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งค้างท่าเดิม และบางส่วนถูกยืดค้าง เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนโดยไม่ได้รับการแก้ไข กล้ามเนื้อบางส่วนจะขมวดเป็นก้อนตึง และทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้
ถ้าหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน จากการปวดอาจกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรงมาก ทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือเกิดกระดูกทับเส้นประสาทได้
- ปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่ ปวดจนยกแขนไม่ขึ้น
- ปวดหลัง
- ปวดขา และตึงที่ขา
- ปวดศีรษะ ไมเกรน
นอกจากนี้ระบบอื่นของร่างกายอาจได้รับผลกระทบจากการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน ปวดศีรษะจากความเครียด ภาวะอ้วน เป็นต้น
พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง
1. ผู้ที่ต้องทำงานลักษณะเดิมต่อเนื่องอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เช่น นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง ไม่ได้ลุกไปไหน
2. ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณไหล่ ต้นคอ สะบัก หลัง บางครั้งมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ หรือร้าวลงแขนขณะนั่งทำงานอยู่ต้องขยับเปลี่ยนท่าทางจึงจะดีขึ้น
3. อาการปวดสัมพันธ์กับช่วงวันเวลาที่ต้องทำงาน แต่พอช่วงวันหยุดอาการปวดไม่เป็นมาก
4. ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีเวลาว่างออกกำลังกาย
อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
- ปวดตึงบริเวณ คอ บ่า ไหล่ จากการนั่งท่าเดิมนานๆ
- มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค ที่พัฒนามาจากอาการปวดเรื้อรัง จนเกิดการอักเสบ เส้นประสาทตึงตัว
- อาการปวดศีรษะไมเกรน ปวดร้าวถึงตา หรือปวดกระบอกตา เนื่องจากการใช้สายตามาก มีความเครียดสะสม
- อาการเหน็บชาและแขนขาอ่อนแรง เกิดจากการนั่งนานเกินไป จนการไหลเวียนเลือดผิดปกติ
- นอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท อื่นเกิดจากความเครียดหรือจากอาการปวดมารบกวนเวลานอนเป็นระยะๆ
การรักษาออฟฟิศซินโดรม
1. การรักษาด้วยยา
2. การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถท่าทางให้ถูกต้อง
3. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย
4. การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม
5. การฉีดลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
เป็นการฉีดสารโปรตีนบริสุทธิ์เข้าสู่กล้ามเนื้อที่บีบเกร็งเพื่อทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นคลายตัว ทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้น โดยวิธีการนี้เป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการคลายกล้ามเนื้อที่บีบเกร็ง ช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านร่างกายไม่สดชื่น ปวดเมื่อย ปวดเกร็งตามจุดต่างๆของร่างกาย
สารโปรตีนบริสุทธิ์
เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์กับระบบประสาท ช่วยยับยั้งสารสื่อประสาทที่ส่งมายังกล้ามเนื้อในบริเวณนั้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว ลดการเกร็งกล้ามเนื้อ และในอดีตมีการใช้สารชนิดนี้ในการรักษาโรคบางชนิด เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กล้ามเนื้อบิดเกร็ง ปวดศีรษะรุนแรง ตาเข ตาเหล่ เป็นต้น
และนอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้รักษาเกี่ยวกับด้านความสวยความงาม โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการแก้ปัญหาริ้วรอย ทำให้หน้าได้รูปและมีผิวเรียบเนียน โดยไม่ทำลายกล้ามเนื้อ และประสาทการรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้
- เห็นผลทันทีหลังทำ จะสบายตัวขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อมากขึ้น
- กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็ง ส่งผลให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น
- ลดความเสี่ยงกับโรคร้ายแรง เช่น กระดูกเสื่อมบริเวณไขสันหลัง หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
- คืนความสดชื่นให้กับร่างกายยิ่งขึ้น
ข้อดีของการรักษาด้วยการฉีดลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
1. เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ใช่วิธีการผ่าตัด จึงไม่ต้องเสี่ยงกับการดมยาสลบ
2. สามารถปรับปริมาณยาตามความรุนแรงของโรคได้
3. ผลข้างเคียงอาจพบได้เพียงเล็กน้อยเช่น การอ่อนกำลังของกล้ามเนื้ออื่นๆ ซึ่งจะเป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปได้เอง
4. ได้รับการยอมรับในทางการแพทย์
5. เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก และ สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ ไม่ต้องทำในห้องผ่าตัด
6. ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ
*** แม้การฉีดยาเพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อจะได้รับความนิยมและมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่การเลือกเข้ารับบริการกับสถานบริการที่ได้มาตรฐานและมีแพทย์เฉพาะทางคือสิ่งสำคัญ เพราะแพทย์จะมีความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ตลอดจนเทคนิคการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อให้ผลการรักษาเกิดประโยชน์และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดซึ่งนำมาถือเรื่องความปลอดภัยต่อผู้รับการรักษา และได้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจ
และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นอย่ารอให้อาการออฟฟิศซินโดรมถามหาในระยะที่เป็นหนักมากนะคะ เพราะนอกจากจะต้องเสียเวลาจนไม่ได้ทำงานอย่างที่ใจคิดแล้ว ยังเสียเงินพบแพทย์ และเสียเวลาทำกายภาพบำบัด หรือทำการรักษาอย่างต่อเนื่องเพราะฉะนั้นควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยนะคะ
ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามมากกว่า 10 ปี
เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 - 21.00 น.
ปรึกษาหรือสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005
อ่าน 6618 ครั้ง