โรคเส้นเลือดขอด (Varicose Veins)
เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดดำซึ่งเป็นส่วนของลิ้น
ที่ทำหน้าที่เปิดปิดส่งเลือดจากขาขึ้นไปสู่หลอดเลือดดำใหญ่
ความผิดปกตินี้เป็นตัวการที่ทำให้เลือด ไม่สามารถลำเลียง
เข้าสู่หัวใจได้ ทั้งหมดเกิดการย้อนกลับมาค้างอยู่ใน
หลอดเลือด ทำให้มีลักษณะคดเคี้ยวจนผิดปกติ
เส้นเลือดขอด ไม่ใช่แค่เส้นฝอย
เส้นเลือดขอด ถึงแม้ว่าไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ส่งผลกระทบ
ต่อชีวิตประจำวันเพราะบางคนอาจปวดบริเวณที่ขอด
จนนั่งไม่ได้ ยืนนานไม่ได้เลยทีเดียว ซึ่งก็มีหลายคน
อาจคิดว่าเส้นเลือดขอดเป็นแค่เส้นฝอยเล็ก ๆ
แต่ความจริงแล้วมี 2 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 : เส้นเลือดขอดแบบฝอย แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ
ลักษณะคล้ายแพใยแมงมุม มีขนาดเล็กสีม่วงหรือแดง
บางคนแทบไม่มีอาการเจ็บปวด หรือเมื่อยล้าจุดที่เป็น
ระดับ 2 : เส้นเลือดขอดตัวหนอน เส้นเลือดโป่งพอง
ขนาดใหญ่ เกิดจากผนังเส้นเลือดบางทำให้เส้นเลือด
พองและขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง เส้นเลือด
จะโป่งนูนออกมาเป็นขดๆ ชัดเจนพร้อมมีอาการเมื่อยล้า
เจ็บปวดบริเวณเส้นเลือดขอด ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นที่ต้องรักษา
และอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาได้
เส้นเลือดขอด ปัญหาใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม
เส้นเลือดขอด หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเพียงปัญหา
เรื่องความไม่สวยงามที่เกิดขึ้นกับร่างกายและละเลยที่จะรักษา
แต่จริงๆแล้วหากปล่อยไว้ อาจมีโอกาสเกิดการอักเสบรุนแรง
และนำไปสู่การเกิดแผลได้
สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอด
เกิดจากผนังหลอดเลือดและลิ้นควบคุมการไหลของเลือด
มีความอ่อนแอซึ่งโดยปกติภายในหลอดเลือดดำจะมีลิ้นเล็กๆ
คอยเปิดให้เลือดไหลผ่าน และปิดป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อน
กลับไปสู่ส่วนล่างของร่างกาย แต่ถ้าผนังหลอดเลือดขยายตัว
ออกจนสูญเสียความยืดหยุ่น จะทำให้ลิ้นที่คอยเปิดปิด
นี้อ่อนแอลงส่งผลให้มีเลือดรั่วออกมาและไหลย้อนกลับไป
ที่ส่วนล่างของร่างกายโดยเฉพาะการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน
จะส่งผลให้เลือดจากส่วนล่างของร่างกายไหลย้อนกลับไป
ที่หัวใจได้ยากขึ้นและทำให้เลือดสะสมในหลอดเลือด
และเกิดอาการบวมพองตามมา
ซึ่งอาจมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดดังต่อไปนี้
เพศหญิง เส้นเลือดขอดมีโอกาสเกิดขึ้นในเพศหญิง
มากกว่าเพศชายเนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงจะไปทำให้
ผนังหลอดเลือดคลายตัวลงและส่งผลให้มีโอกาสเกิดการรั่ว
ของลิ้นหลอดเลือด
พันธุกรรม ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอดจะยิ่งมี
โอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นอายุ อายุเพิ่มมากขึ้นหลอดเลือด
จะเริ่มหลวมและหย่อนตัวลง เป็นเหตุให้ลิ้นหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดี
น้ำหนักตัวมาก จะทำให้เกิดแรงดันบนหลอดเลือด
ทำให้หลอดเลือดต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งเลือด
ไปเลี้ยงหัวใจส่งผลให้เกิดแรงดันที่ลิ้นหลอดเลือดสูงขึ้น
และเสี่ยงต่อการรั่วของเลือดยิ่งขึ้น
การยืนเป็นเวลานาน จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอด
เพราะเลือดจะไหลได้ยากขึ้น
หญิงตั้งครรภ์ ในระหว่างการตั้งครรภ์ปริมาณของเลือด
ในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้นและนำไปสู่การตึงของหลอดเลือด
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
ในหญิงตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นยังสามารถทำให้ผนังกล้ามเนื้อ
ของหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดทำงานบกพร่อง
ได้เช่นกัน
6 ระยะเส้นเลือดขอดรักษาถูกวิธีลดโอกาสเสี่ยงลุกลาม
ความรุนแรงของเส้นเลือดขอด มีความแตกต่างกัน
ในแต่ละระยะซึ่งหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
ตั้งแต่เนิ่น ๆจะช่วยลดโอกาสในการลุกลามของแผล
เส้นเลือดขอดได้
เส้นเลือดขอด หรือชื่อในทางการแพทย์คือ
โรคหลอดเลือดดำชั้นตื้นบกพร่องเรื้อรัง หมายถึง
การที่เส้นเลือดมีการปูดขยายคล้ายตัวหนอน
มากกว่า 3 มิลลิเมตร สาเหตุเกิดจากความเสื่อม
ของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดแรงดันภายในหลอดเลือด
เลือดจึงไหลเวียนกลับไปเลี้ยงที่หัวใจได้ไม่ดีเท่าที่ควร
จนเกิดอาการปวดและบวมบริเวณขาในที่สุด
กรรมพันธุ์ เพศ อาชีพ การใช้งาน
และโครงสร้างหลอดเลือดล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยง
ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ซึ่งอาการที่พบได้ทั่วไปคือ
อาการเจ็บหรือรู้สึกหนักขา,เป็นตะคริวช่วงกลางคืน,
บวม ตึง แสบร้อน, รู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อนั่งหรือยืน
เป็นเวลานาน, คันรอบ ๆ เส้นเลือดเส้นใดเส้นหนึ่ง
หรือหลายเส้น, อาจมีเลือดออกจากเส้นเลือดที่บิดนูน,
อาการปวดเส้นเลือดขอด ในเส้นเลือดบริเวณที่ผิวหนัง
เปลี่ยนเป็นสีแดง, เส้นเลือดแข็งหรือเปลี่ยนสี
มีอาการอักเสบของผิวหนัง หรือบางรายอาจเกิดอาการ
อักเสบรุนแรงจนเกิดแผลได้
ความรุนแรงของอาการเส้นเลือดขอด
จะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะซึ่งแบ่งเป็น 6 ระยะได้แก่
ระยะที่ 1 เส้นเลือดมีลักษณะคล้ายใยแมงมุมมักมีขนาด
น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 เส้นเลือดเริ่มปูดเป็นตัวหนอนขนาดใหญ่มากกว่า
3 มิลลิเมตรและมีอาการปวดเมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน
เช่น นั่ง เดิน หรือ ยืน
ระยะที่ 3 เริ่มมีอาการขาบวม และปวดมากขึ้นถึงแม้จะใช้งาน
ในระยะเวลาสั้น ๆ
ระยะที่ 4 สีผิวที่ขาเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำเข้มขึ้น
ซึ่งเป็นภาวะอักเสบของผิวหนัง
ระยะที่ 5 แผลหายจากการรักษาแต่ยังมีลักษณะอื่นๆ ร่วม
เช่น ผิวหนังที่เปลี่ยนสีเป็นสีดำ
ระยะที่ 6 เกิดแผลที่เป็นลักษณะเฉพาะของแผลบริเวณ
หลอดเลือดดำ เช่น ขอบแผลแดง
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด คือการให้ยาลดการอักเสบ
ของหลอดเลือดดำหรือการใส่ถุงน่องเส้นเลือดขอด
เพื่อให้เลือดภายในหลอดเลือดดำไหลกลับคืนสู่หัวใจ
ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ 2 วิธีนี้จะช่วยบรรเทา
อาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายได้
ส่วนการรักษาแบบฉีดและ Laser
เหมาะสำหรับคนไข้ที่เริ่มมีอาการ ตั้งแต่ระยะ 2 ขึ้นไป
โดยในปัจจุบันมีการฉีดและ Laser รักษาแบบแผลเล็ก
เส้นเลือดขอดได้ผลดีเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
สามารถทำได้ทั้งแบบใช้ความร้อนทำลายหลอดเลือด
คือการทำ Laser หรือ ใช้คลื่นวิทยุ และแบบไม่ใช้ความร้อน
คือการฉีดสารเคมี เพื่อเข้าไปทำลายผนังหลอดเลือดดำจน
ไม่มีเลือดไหลผ่านซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ
และความปลอดภัยสูงมากกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
ที่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นหลังทำที่กำลังได้รับความนิยม
ทำให้มีแผลขนาดเล็กประมาณ 2 – 3 มม. เจ็บน้อย
ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
การรักษาแผลเส้นเลือดขอดถ้ารักษาไม่ถูกวิธี
เช่น เจอแผลแล้วทำแค่แผล จะยิ่งทำให้เกิดการลุกลาม
แผลอาจมีน้ำเหลืองออกมามากขึ้นโดยวิธีที่ถูกต้อง
คือการรักษาแรงดันในหลอดเลือดดำเพราะถ้าไม่ลดแรงดัน
แผลก็จะไม่หายเพราะฉะนั้นหากพบว่ามีปัญหา
เรื่องเส้นเลือดขอดควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการรักษาที่เหมาะสม
***ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล
***สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือโปรโมชั่นดีๆ
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะคะ
ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณ
และศัลยกรรมความงามมากกว่า 10 ปี
เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 - 21.00 น.
ปรึกษาหรือสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005
อ่าน 2575 ครั้ง